สัมผัส'มหาศิลานคร'สู่'ฮอยอัน'ประตูบูรพา
...See Angkor and Die... สัมผัส'มหาศิลานคร'สู่'ฮอยอัน'ประตูบูรพา
ใน ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ประเทศในภูมิภาคอุษาคเนย์จะก้าวสู่ความเป็น “ประชาคมอาเซียน” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของประเทศไทยมีความลักษณ์ภูมิศาสตร์ที่เชื่อมโยงเพื่อนบ้านอาเซียนทั้งที่พรมแดนนติดกับ สปป.ลาว,ราชอาณาจักรกัมพูชา และ สาธารณสังคมนิยมเวียดนาม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่แอ่งอารยธรรมสำคัญสองแห่งคือ อารายะธรรมแอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช โดยเฉพาะแอ่งโคราชอยู่ทางตอนใต้ลุ่มแม่น้ำมูน-ชี มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ลำน้ำสายหลักของแอ่งโคราช คือแม่น้ำมูน-ชี และลำน้ำสาขาในแอ่งโคราชทำให้เกิดบริเวณที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกและตั้งหลักแหล่งชุมชนโบราณอยู่เกือบทั่วบริเวณ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่แอ่งอารยธรรมสำคัญสองแห่งคือ อารายะธรรมแอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช โดยเฉพาะแอ่งโคราชอยู่ทางตอนใต้ลุ่มแม่น้ำมูน-ชี มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ลำน้ำสายหลักของแอ่งโคราช คือแม่น้ำมูน-ชี และลำน้ำสาขาในแอ่งโคราชทำให้เกิดบริเวณที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกและตั้งหลักแหล่งชุมชนโบราณอยู่เกือบทั่วบริเวณ
อาณาบริเวณอีสานใต้จึงหลากหลายวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม เขมร ,ลาว ,กวย และจีน กับวัฒนธรรมสองฝั่งโขงและแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วย โดยเฉพาะเหตุการณ์ ค.ศ. 1431 / พ.ศ. 1974 กองทัพสยามอยุธยาเข้าตีอาณาจักรพระนคร (นครวัด-นครธม) มีผลกระทบอย่างสูงต่อราชสำนักอยุธยา ทำให้อิทธิพลเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี รวมทั้งศิลปะเข้ามาปรากฏชัด โยเฉพาะ “อิทธิพลเขมรในราชสำนักอยุธยา อาทิ เรื่องลัทธิเทวราช พิธีเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ราชาศัพท์ ดังกล่าวนี้ จึงทำให้วัฒนธรรมของอยุธยาต่างจากกลุ่มอื่นๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นล้านนา ล้านช้าง ไทใหญ่(ไต) ฯลฯ
จังหวัดสุรินทร์ อยู่กึ่งกลางอารยธรรมแอ่งโคราช มีพรมแดนติดกับ ราชาอาณาจักรกัมพูชา จึงมีวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจากราชสำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผนวกเข้าด้วยกับวัฒนธรรมน้ำโขง-ซี-มูน และอยู่ในพื้นฐานของวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งมีมาแต่เดิม โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสุรินทร์อยู่ใกล้เส้นทางไปสู่เมืองพระนคร และ นครวัด เมื่อลงไปทางทิศใต้ โดยเฉพาะ พ.ศ.2556 เป็นปีที่ปราสาทนครวัดมีอายุเต็ม 900 ปี ที่พระสุริยวรมันที่ 2 เริ่มสร้างขึ้นมหาศิลานครแห่งนี้ขึ้น หลังสงคราม ค.ศ. 1431 / พ.ศ. 1974 เมืองแห่งนี้ถูกทิ้งร้างจนมาสนใจของชาวโลกตะวันตกอีกครั้งเมื่อการเดินทางของ ออรี มูโอต์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส และวลี อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บีที่ว่า “...See Angkor and Die...แม้นตายไม่ปรารมภ์ ถ้าได้ชมเมืองพระนครของเขมร” รวมทั้งการรับรู้ผ่านมางานเขียนไม่ว่าจะเป็น ตำนานนครวัด ของ จิตร ภูมิศักดิ์ และ ถกเขมร ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และ บุคคลสำคัญของโลกใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เดินทางไปเมืองพระนครเมื่อ พ.ศ.2496 เริ่มเขียนถกเขมร โดย พ.ศ. 2556 ครบ 60 ปีของงานเขียนเล่มนี้ของศิลปินแห่งชาติคนแรกของประเทศไทยด้วยด้วย
เป้าหมายการรวมเป็นประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community ใน พ.ศ.2558 (2015) นับเป็นหมุดหมายสำคัญที่บ่งชี้ว่า อาเซียนได้เดินทางมายังจุดพัฒนาที่มีความหมายอย่างยิ่ง การรวมเป็นประชาคมครั้งนี้จะกระชับความสัมพันธ์ในทุกด้านของประชากรในภูมิภาคอุษาคเนย์จะก้าวสู่ความเป็น “ประชาคมเดียวกัน” ด้วยความตระหนักในพันธกิจทางวิชาการดังที่กล่าวมาข้างต้น งานสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ ต้องการสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนบ้าน เพื่อขยายพรมแดนความรู้และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาแก่คนและสังคมไทยให้เป็นสังคมที่อุดมไปด้วยปัญญา
วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคมนี้ "มูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสาก" ,”สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย” และ "นิตยสารทางอีศาน" ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ โดยการสนับสนุนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัทไทยแอร์เอเซีย จัดสัมมนาวิชาการ "ร่องรอยกาลเวลา : อาเซียนศึกษา มหาศิลานคร มรดกโลกอุษาคเนย์" ณ ห้องประชุม อาคาร 38 ห้องเธียรเตอร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ในกิจกรรมก็จะมี ปาฐกถานำโดย อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายสมชาย เสียงหลาย ประธานมูลนิธิ ICFC ตามด้วยเสวนารวมหัวข้อ “มรดกโลกอาเซียน“มหาศิลานคร”กับ ตำนานนครวัด-ถกเขมร”ทรงยศ แววหงษ์ นักวิชาการอิสระ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักสื่อสารมวลชนอิสระ ธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนรางวัลศรีบูรพา /รางวัลแม่น้ำโขง ดำเนินรายการโดย ปรีดา ข้าวบ่อ บรรณาธิการนิตยสาร ทางอีศาน
อีก 2 หัวข้อย่อ ห้องสัมมนา “เรียนรู้เพื่อนบ้านอาเซียนผ่าน ‘ถกเขมร’ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช” นำโดย ทองแถม นาถจำนง บรรณาธิการ นสพ.สยามรัฐรายวัน ผศ.ศานติ ภักดีคำ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร ดำเกิง โถทอง มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ดำเนินรายการโดย จรูญพร ปรปักษ์ประลัย มูลนิธิ ICFC ห้องที่ 2 หัวข้อ สัมมนา “วรรณกรรม ,ดนตรี, กวี เครือญาติวัฒนธรรมร่วมสมัยอาเซียน” นักเขียนซีไรต์ นามปากกา ไพฑูรย์ ธํญญา หรือ รศ.ธัญญา สังขพันธนานนท์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วีระ สุดสังข์ วีระสโมสร โชคชัย บัณฑิต’ กวีซีไรต์ ดำเนินรายการโดย พินิจ นิลรัตน์ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
พิเศษ กิจกรรมภาคสนาม ทัศนศึกษาเรียนรู้เพื่อนบ้านอุษาคเนย์ “901 ปี มหาศิลานคร นครวัด – นครธม –เกาะแกร์” ระหว่าง 4-7 กรกฎาคม 2557 วิทยากรนำชมโดย ทรงยศ แววหงษ์ ,ธีรภาพ โลหิตกุล,ดำเกิง โถทอง รับจำนวน 30 ท่านแรกเท่านั้น ราคาทัวร์เริ่มต้นที่จังหวัดสุรินทร์ ผู้ร่วมเดินทางจะได้รับ หนังสือเอกสารการสัมมนา “ร่องรอยกาลเวลา” และผลงานเขียน จิตร ภูมิศักดิ์ 2 เล่ม ตำนานแห่งนครวัด – ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ อย่างล่ะ 1 เล่ม
อีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งเป็นกิจกรรมเดียวกับของ “มูลนิธิICFC” ซึ่งร่วมกับ มหาวิทยาลัยนครพนม “ร่องรอยกาลเวลา : ประตูบูรพา อาเซียน – อุษาคเนย์” วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2557 ห้องราชพฤกษ์ อาคารสารสนเทศเพื่อการบริหาร มหาวิทยาลัยนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีเวทีเสวนา “สังคมวัฒนธรรมอาเซียน ‘ฮอยอัน – นครพนม’ ประตูบูรพา ” รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม คุณปิยะกุล สุวรรณสัมฤทธิ์ รองประธานชมรมวัฒนธรรมไทย – เวียดนาม ผศ.สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ดำเนินรายการโดย ศน.ศรายุทธ วังคะฮาต และอีกสองหัวข้อสัมมนา “มองวรรณกรรม- ดนตรี เพื่อนบ้านอาเซียน” ครูสุรินทร์ ภาคศิริ นักแต่งเพลงคุณอานันท์ นาคคง มูลนิธิ ICFC คุณทองแถม นาถจำนง มูลนิธิ ICFC
สัมมนา “อาเซียน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” วิทยากรโดย คุณสุริยา คำหว่าน มหาวิทยาลัยนครพนม คุณวิชาญ ฤทธิธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร คุณชัชวาลย์ โคตรสงคราม สโมสรนักเขียนภาคอีสาน ดำเนินรายการโดย ดร.สามารถ จันทร์สูรย์ มูลนิธิ ICFC
สำหรับกิจกรรมภาคสนามนั้นเรียนรู้เพื่อนบ้านอุษาคเนย์ ท่องไปในแดนอาเซียน เวียดนามกลาง 3 มรดกโลก ถ้ำฟองญา กรุงเก่าเว้ และฮอยอันคืน15 ค่ำ จันทร์เต็มดวง ระหว่าง 10-14 ก.ค.นี้ นำชมโดย ปิยะกุล สุวรรณสัมฤทธิ์ , เด่นชัย ไตรยะถา และ ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต วิทยากรผู้เชี่ยวชาญและเกร็ดความรู้ท้องถิ่นแบบเป็นกันเอง ราคาทัวร์เริ่มต้นที่ 13,000 บาท สำหรับท่านที่ร่วมเดินทางภาคสนามจะได้รับหนังสือประกอบการสัมมนา และผลงานเขียน โฮจิมินห์ เทพเจ้าผู้ยังมีลมหายใจ โดย ศุขปรีดา พนมยงค์ อย่างล่ะ 1 เล่ม
สำหรับ เมืองฮอยอัน ได้จัดให้มีเทศกาลโคมไฟ หรือเทศกาลหลงจู (Long Chu Festival) ขึ้นในวันที่ 15 ค่ำ เดือน 7 ทั้งยามปกติที่มีความสว่างของแสงสี ไฟฟ้าและโคมไฟอันงดงาม และในคืนเดือนเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงของวันอาสาฬะหบูชา ที่ทั้งเมืองจะมีการปิดไฟฟ้า เหลือเพียงโคมไฟที่ให้แสงสลัว ทำให้เห็นแสงจันทร์สาดส่องทั่วเมือง และในคืนเพ็ญนี้ จะมีชาวบ้านจัดเครื่องบูชาอันประกอบด้วย ขนมไหว้พระจันทร์ของชาวเวียดนาม ผลไม้ ดอกไม้ อันงดงาม มาไหว้ของพรจากดวงจันทร์
ฮอยอันเป็นเมืองเก่าที่มีเสน่ห์ตราตรึงใจผุ้มาเยือน ทำให้ไม่อยากจากไป แต่ด้วยเหตุผลของแต่ละผู้คนทำให้ต้องจากลา และหลายคนคงมีความรู้สึกคล้ายกันว่าถ้ามีโอกาสจะต้องกลับมาเยือนอีก และไม่ลืมที่จะบอกว่า...ฮอยอันฉันรักเธอ...
ฮอยอันหรือโห่ยอาน (Hoi An) เป็นเมืองโบราณขนาดเล็ก ริมฝั่งทะเลจีนใต้ ทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดกว่างนาม ห่างจากดานัง 30 กิโลเมตรทางใต้ อดีตเคยเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งโดยมีคลองสายหนึ่งคั่นอยู่กลางเมือง มีสะพานญี่ปุ่นทอดข้ามคลองเพื่อนคั่นแบ่งชุมชน ของชาวญี่ปุ่นอีกฝั่งหนึ่งของคลอง จากชุมชนชาวจีน ตัวสะพานถูกสร้างโดยชาวญี่ปุ่น ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีหลังคาเหนือสะพาน มีวัดญี่ปุ่นตั้งอยู่ขวามือของสะพาน ทำให้สะพานนี้มีชื่อว่าสะพานวัด หรือ Pagoda Bridge และยังมีรูปปั้นสุนัข สองตัว อยู่เชิงสะพานทางทิศตะวันตก และมีลิงสองตัว อยู่เชิงสะพานทางทิศตะวันออก เนื่องจากสะพานดังกล่าวเริ่มสร้างในปีวอกและแล้วเสร็จในปีจอ องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเขตเมืองเก่าของฮอยอัน เป็นมรดกโลก ในปีพ.ศ. 2542
โดยเป็นตัวอย่างของเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการผสมผสานศิลปและสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นและต่างชาติไว้อย่างมีเอกลักษณ์ ภายในเมืองมีการอนุรักษ์ให้คงอยู่ในสภาพเดิมเป็นอย่างดี
ทั้ง 2 โปรแกรมรับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่านเท่านั้น หากท่านใดสนใจร่วมเดินทางโปรดแจ้งความประสงค์ได้ที่ 0851666473 ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ผู้ประสานงานโครงการ และปิดรับจนถึงวันที่ 15 มิถุนายนนี้ติดต่อสอบถามด่วนที่ 0851666473
http://www.komchadluek.net/detail/20140615/186513.html
http://tdri.or.th/tdri-insight/tdri-factsheet-18/